NEW ฟ้อนกิงกะหร่า ฟ้อนกิงกะหร่า เป็นศิลปะการแสดงของชาวไทใหญ่ คำว่า "กิงกะหร่า" เป็นคำ ๆ เดียวกับ คำว่า กินนร หมายถึง อมนุษย์ในนิยายมี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นนก อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหนก็จะใส่ปีกใส่หางบินไป การฟ้อนกิงกะหร่าเป็นการเลียนแบบอมนุษย์ชนิดนี้ สำหรับความเป็นมานั้นมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยพุทธกาล หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากการไปจำพรรษาเพื่อโปรดพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ขณะเสด็จลงสู่โลกมนุษย์นั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้พร้อมใจกัน นำอาหารไปทำบุญตักบาตร ที่เรียกว่า "ตักบาตรเทโวโรหนะ" พร้อมนั้นบรรดาสัตว์ ต่าง ๆ จากป่าหิมพานต์อันมี กินนร และ กินนรี เป็นต้น พากันมาฟ้อนรำแสดงความยินดี ในการเสด็จกลับมาของพระพุทธ- องค์ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรเทโวโร-หนะ และเฉพาะชาวไทใหญ่นิยมแต่งกายเป็นกินนรและกินนรีแล้วร่ายรำเลียนแบบ อากัปกิริยาของอมนุษย์ประเภทนี้ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อการแสดงชนิดนี้ เผยแพร่ออกไปในวงกว้างจึงนิยมแสดงในโอกาสอื่นนอกเหนือจากแสดงในช่วง เวลาดังกล่าว ชุดกิงกะหร่ามีส่วนประกอบ ๓ ส่วน คือ ปีก หาง และลำตัว เฉพาะปีกและหางทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย แต่ละส่วนจะทำเป็น โครงก่อนแล้วผ้าแพรสีต่าง ๆ ติดหุ้มโครงและใช้กระดาษสีตัดเป็นลวดลายตกแต่งให้สวยงาม จากนั้นนำมาประกอบกันโดยใช้ยางรัด เชือกหรือหวายรัดให้แน่น พร้อมทำเชือกโยงบังคับปีก และหางสำหรับดึงให้สามารถกระพือปีก และแผ่หางได้เหมือนนก ส่วนลำตัวผู้ฟ้อนจะใส่ เสื้อผ้าสีเดียวกับปีกและหาง (อุปกรณ์การฟ้อนนี้ พบว่าบางแห่งมีเฉพาะหางเท่านั้น) นอก เหนือจากนี้ ส่วนของศีรษะอาจมีการโพกผ้าหรือสวมหมวกยอดแหลมหรือสวมหน้ากาก ซึ่งแล้วแต่ความนิยมของท้องถิ่น ท่ารำ จะเป็นท่าที่เลียนแบบอากัปกิริยาของนกเช่น ขยับปีก ขยับหาง บิน กระโดดโลดเต้นไปมาตามจังหวะของกลอง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสำคัญในการกำหนดท่า การฟ้อนกิงกะหร่า บางครั้งจะแสดงคู่ชายหญิงโดยสมมุติเป็นตัวผู้และตัวเมีย แต่ส่วนใหญ่ ที่พบมักเป็นตัวเมีย จึงมีชื่อเรียกตามที่เห็นอีกชื่อคือ “ฟ้อนนางนก”
NEW ถั่วเน่า ต้นตำหรับไทใหญ่ " ถั่วเน่าป้าใหม่ พี่นี " ถั่วเน่าวัตถุดิบชั้นเลิศของทางภาคเหนือ ถั่วเน่าเป็นผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองหมักดั้งเดิมของภาคเหนือ โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากชาวไทยภูเขา รวมถึงชาวไทลื้อ และไทยใหญ่ ซึ่งวิธีดั้งเดิมมักใช้ใบตองเหียงในการห่อหมัก อาจเติมเกลือหรือเครื่องปรุง ก่อนหมักทิ้งไว้ ประมาณ 3 วัน จนได้ถั่วเหลืองที่มีราสีขาวเกิดขึ้น มีกลิ่นหอม และกลิ่นฉุนแรง หลังจากนั้น จึงนำมาบด แล้วนึ่งรับประทาน หรือใช้ทำเป็นแผ่นแล้วตากให้แห้งนำมาประกอบอาหาร รวมถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งป้าใหม่ได้สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นยาวนานกว่า 40ปี ถือว่าเป็นรุ่นแรกๆในการทำถั่วเน่าเลยก็ว่าได้ โดยปัจจุบันมีลูกสาวเป็นผู้สืบทอดกรรมวิธีในการทำถั่วเน่า โดยได้นำเทคโนโลยีในยุคสมัยปัจจุบันมาปรับใช้อีกด้วย
NEW หัตถกรรมถักสานหญ้าอิบุแค หญ้าอิบุแค จะขึ้นเฉพาะบริเวณบนดอยสูงที่มีอากาศหนาวเย็นเท่านั้น หนึ่งปีจะเก็บหญ้าได้พียงหนึ่งครั้ง วิธีการเก็บ จะเก็บทีละเส้นเลือกเฉพาะหญ้าที่สมบูรณ์นำมาย้อมสี จากภูมิปัญญาชาวบ้านจึงเกิดหัตถกรรมสานและถักจากหญ้าอิบุแค ที่จะเห็นได้ชัด คือ การนำหญ้าอิบุแคมาถักเป็นกำไลข้อมือด้วยลวดลายและสีสันหลากหลายแบบ “กำไลข้อมือหญ้าอิบุแค” มีที่มาจากธรรมเนียมการต้อนรับมิตรสหายหรือผู้มาเยือนของชาวมูเซอดำ จะมีการผูกกำไลข้อมือต้อนรับเหมือนการสู่ขวัญ เพื่อให้เกิดศิริมงคลทั้งผู้ให้และผู้รับ นอกจากนี้ตำนานของชาวมูเซอดำยังใช้หญ้าอิบุแคเป็นเครื่องรางของขลังเมื่อเข้าป่าล่าสัตว์หรือเดินทางไกล งานหัตถกรรมของชนเผ่า ถูกถักทอด้วยเรื่องราวและวิถีชีวิตลงบนงานทุกชิ้น แม้เพียงกำไลจากต้นหญ้า ก็สวยงามจนยากจะลืมเลือน บ้านขอบด้ง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
NEW หัตถกรรมผ้าทอย้อมสีธรรมชาติดาราอั้ง ผ้าทอมือลวดลายแบบชาวเขา ย้อมด้วยสีธรรมชาติ โดยชนเผ่าดาราอั้ง ชุมชนบ้านขอบด้ง เผ่าดาราอั้ง เป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากประเทศพม่า มีเอกลักษณ์ คือการแต่งกายของผู้หญิง มีการสวมใส่ ผ้าถุงสีแดงสด และสวมหวงหวายคาดเอวที่เรียกว่า “หน่องว่อง” ตลอดเวลาแม้กระทั่งเวลานอน ด้วยเชื่อ ว่าเป็นสัญลักษณ์การเป็นลูกหลานของ นางฟ้าร้อยเงิน อีกทั้งจะช่วยป้องกันสิ่งอัปมงคลต่าง ๆ เข้าตัว ผ้าทอมือ นั้นจะมีรูปแบบและลวดลายสันสัน แต่งต่างกันไปตามความชำนาญของผู้ทอแต่ละคน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หาซื้อได้เฉพาะบนดอยอ่างขาง มีกระบวนการวิธีย้อมสีธรรมชาติทำให้ได้สีเข้มอ่อน ต่างกัน ผ้าทอมือจะนำมาถักเย็บเป็นผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ เสื้อ เพื่อสวมใส่ลดถอนความหนาว โดยใช้เวลา กว่า 3 วันจึงจะทอผ้าเสร็จแต่ละผืน
NEW เฮือนกล๋องป้อเฒ่าวิ ป้อเฒ่าวิ เป็นผู้ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ของชาวไทใหญ่ ตามเทศกาล เช่น กลองไทใหญ่ ฆ้อง ฉาบ โต นกกิ่งกะหล่า และยังเป็น ช่างฟ้อน ผู้มากประสบการณ์ของหมู่บ้าน - ความเชื่อ ชาวไทใหญ่มีความเชื่อว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาอยู่บนสรวงสวรรค์ และทรงเสด็จลงโปรดสัตว์ให้สรรพสิ่งในโลกมนุษย์รวมไปถึงสัตว์ในโบราณคดี เช่น นกและสิงโต รวมไปถึงสัตว์อื่นๆอีกมากมาย และในคืนแรม 1 ค่ำสัตว์เหล่านี้จะพากันออกมาฟ้อนรำ เปรียบเสมือนเป็นการคารวะและแสดงความยินดีที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ลงมาเทศนาเพื่อโปรดสัตว์ในโลกมนุษย์ จากอดีตจนถึงปัจจุบันชาวไทใหญ่ยังคงมีความเชื่อในตำนานนี้ และได้สมมุตติให้มีการแสดงเลียนแบบสัตว์ต่างๆในวรรณคดี เช่น ฟ้อนกิ่งกะหล่า ซึ่งเป็นการแสดงเลียนแบบนกยูง โดยใช้ผู้แสดงที่เป็นผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีการแสดงที่น่าสนใจคือการเต้นโต แต่คราวนี้ใช้ผู้แสดงเป็นผู้ชาย กลองก้นยาวส่วนใหญ่มักพบเห็นในงานบุญของวัด ขบวนแห่ต่างๆ งานปอยส่างลอง และงานปอยเหลินสิบเอ็ดของชาวไทใหญ่ รวมถึงการแห่ประโคม ประกอบการแสดง รำกิ่งกะหล่า รำโต ก้าแลว ก้าลาย ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง แม้กระทั่ง การปล่อยว่าวควัน โคมไฟ จุดบั้งไฟ เป็นต้น วงกลองก้นยาวมีฆ้องตีให้จังหวะด้วยความพร้อมเพรียงสำหรับการตีกลองนั้น ผู้ตีอาจมีลีลาประกอบการตี ลูกเล่นลีลาหน้ากลองมักจะละเอียดซับซ้อนคือใช้ทั้งฝ่ามือ และนิ้วมือกำปั้นตีเต็มเสียงตีครึ่งเสียง จังหวะมีการกดหน้ากลองให้เกิดเสียงต่างๆ หลากเสียงการตีกลองส่วนใหญ่จะตีให้ได้ทั้งเสียงหน้ากลอง และเสียงตีลงส้นหรือ แล้วแต่เพลงที่ตีประกอบ ส่วนฉาบนั้นนอกจากจะตีตามจังหวะกลองแล้ว อาจจะมีลีลา หลอกล่อกับคนตีกลองที่แตกต่างกันไป