(Dalbergia cochinchinensis Pierre)

การใช้ประโยชน์

ตำรับยาพื้นบ้านอีสานจะใช้เปลือกต้นหรือแก่นพะยูง นำมาผสมกับแก่นสนสามใบ แก่นขี้เหล็ก และแก่นแสมสาร ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มะเร็ง ราก ใช้กินเป็นยารักษาอาการไข้พิษเซื่องซึม เปลือก นำมาต้มเอาแต่น้ำ ใช้เป็นยาอมรักษาโรคปากเปื่อย ปากแตกระแหง ยางสด ใช้เป็นยาทาปาก รักษาโรคปากเปื่อย

ไม้พยุง

  • รหัสพันธุ์ไม้ : 8-6500904-09-00208/7
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cochinchinensis Pierre
  • ประเภท : ไม้ยืนต้น
  • วงศ์ : LEGUMINOSAE- PAPILIONOIDEAE
  • ขนาด : ความกว้างขอลลำต้น 20 ซม. ความสูง 4 เมตร
  • การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง การปักชำราก และการเสียบยอด
  • ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ ใบ เป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7 - 9 ใบ ขนาดกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4 - 6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1 - 4 เมล็ด

รูปภาพเพิ่มเติม

ตำแหน่งที่ตั้ง


พรรณไม้ที่น่าสนใจ

สนองพระราชดำริ โดย

องค์การบริหารส่วนตำบลม่อนปิ่น
อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่